ในแวดวงแฟชั่น การสนับสนุนหน่วยงานทางงานศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้เป็นธรรมดา แต่ต้องยอมรับว่า Chanel เป็นอีกหนึ่งแบรนด์แฟชั่นที่ให้การส่งเสริม เชิดชูและเข้าใจอย่างจริงจังคุณค่าของงานและผู้คนในวงการศิลปะเสมอมาตามเจตนารมณ์ของเมซง อีกหนึ่งหมุดหมายที่สำคัญอีกหนึ่งคือการที่ ชาเนล และ Le 19M ได้เป็นพาร์ทเนอร์รายใหญ่ของเทศกาลแฟชั่น ภาพถ่าย และเครื่องประดับนานาชาติ ครั้งที่ 39 ณ เมือง HYÈRES
International Festival of Fashion, Photography and Accessories in Hyères คืออะไร?
เทศกาลนี้ก่อตั้งและดำเนินการโดย Jean-Pierre Blanc และ Pascale Mussard เป็นประธานตั้งแต่ปี 1985 โดยมีอุดมการณ์ในในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์ในด้านต่างๆ ริเริ่มจากด้านแฟชั่นในระดับนานาชาติของคนรุ่นใหม่ ต่อมาในปี 1997 กับด้านศิลปะภาพถ่ายและปี 2016 ด้านการออกแบบเครื่องประดับ โดยเทศกาลนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นเวทีประกวดศิลปะด้านแฟชั่นสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
นับตั้งแต่ปี 2014 ชาเนลได้กระชับความสัมพันธ์กับ Villa Noailles และแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องที่จะสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และศิลปะแนวอาว็องการ์ด ด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์รายใหญ่ของเทศกาลแฟชั่น ภาพถ่าย และเครื่องประดับนานาชาติ ณ เมือง Hyères ซึ่งในปี 2015 เมซงชาเนลได้รับเกียรติในงานเทศกาลครั้งที่ 30 โดยมีคาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ (Karl Lagerfeld) ผู้อํานวยการฝ่ายศิลป์ และวีร์จินี วิยาร์ด (Virginie Viard) รับหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการด้านแฟชั่นของงานเทศกาล
การเข้ามาเป็นผุ้สนับสนุนสายใหญ่ของเมซงในเทศกาลนี้ ทำให้เกิดชื่อรางวัลที่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมผู้สร้างสรรค์ในศิลปะแขนงต่างๆ โดยชื่อของรางวัลอันทรงคุณค่าต่างๆนี้แต่เป็นที่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์และจักรวาลของชาเนลทั้งสิ้น
7L Photography Grand Jury Prize : ร้านหนังสือ 7L
เริ่มที่รางวัล 7L Photography Grand Jury Prize ซึ่งได้มาจาก 7L Bookshop เป็นร้านหนังสือและพื้นที่สำหรับคนที่รักการอ่านก่อตั้งขึ้นในปี 1999 โดยคาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ในกรุงปารีส และหลังจากนี้ควบรวมกิจการโดยเมซงชาเนลในปี 2021 ซึ่งชื่อของร้านอย่าง 7L นั้นได้มาจากอาคารเลขที่ 7 rue de Lille ในเขตที่ 7 ของกรุงปารีสและยังเป็นเลขนําโชคของคาร์ล ลาเกอร์เฟลด์อีกด้วย
ซึ่งนี่นับเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้วที่เมซงร่วมมือกับ 7L Bookshop อีกครั้งในการสนับสนุนการมอบรางวัล Photography Grand Jury Prize โดยมอบเงินจํานวน 20,000 ยูโรให้แก่ผู้ชนะรางวัลอย่าง อาร์ฮัน เชรสต้า (Arhant Shresta) ปัจจุบันรางวัลดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ 7L Photography Grand Jury Prize นั้นเอง
นอกจากนี้ ชาเนลยังเป็นพันธมิตรที่เป็นทางการในการจัดบูธการแต่งหน้าสําหรับโชว์ต่างๆ ของเทศกาล เพื่อให้สอดคล้องกับความร่วมมือในครั้งนี้อีกด้วยประการสุดท้าย งานเทศกาลครั้งที่ 39 ยังเปิดตัวนิทรรศการใหม่ในชื่อว่า Marie Laure de Noailles, peintre Conversation ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาเนลด้วยเช่นกัน
Le 19M Métiers d’art Prize : Le 19M คืออะไร?
Le19M (เลอ ดิซ์ เนิฟ แฟม) คือออฟฟิศของเหล่าช่างฝีมือที่ทางชาเนลได้อุปถัมภ์คุณค่าของงานฝีมือเก่าแก่ของฝรั่งเศสและประเทศต่างๆ รวมกว่า 38 แห่ง เพื่ออนุรักษ์งานฝีมืออายุกว่าร้อยปีไม่ให้ต้องสูญหายไป โดยอาคารตั้งอยู่ที่โอแบร์วิลลิเยร์ หรือเขต 19 ของปารีส โดยชื่อมาจาก 19 คือวันเกิดของ Coco Chanel และ M หมายถึง Mains (แม็งส์) หมายถึง มือ หรือ Métier (เมติเยร์) หมายถึง งานฝีมือ นั้นเอง นอกจากนี้ Le19M ยังถือเป็นโรงเรียนสอนงานฝีมือและเป็นศูนย์กลางงานคราฟต์แฟชั่นด้วยเช่นกัน
ตั้งแต่ปี 2019 อาคารแห่งใหม่ le 19M ที่เปิดตัวขึ้นภายใต้โครงการริเริ่มของชาเนลในการรวบรวมสตูดิโองานฝีมือชั้นเลิศจํานวน 12 แห่งมาไว้ในที่เดียวภายในอาคารซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงปารีสกับโอแบวิลลิเยร์ (Aubervilliers) ก็เป็นพันธมิตรหลักของเทศกาลนี้เช่นกัน ดังนั้น ทั้งชาเนลและ le 19M จึงยังคงมุ่งมั่นในการอนุรักษ์และพัฒนาทักษะชํานาญการด้านแฟชั่นอันทรงคุณค่าต่อไป
Le 19M ก้าวเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์รายใหญ่ของเทศกาลมาตั้งแต่ปี 2020 จึงเป็นที่มาของชื่อรางวัล le 19M Métiers d’art ซึ่งมอบให้เพื่อแสดงการยกย่องความร่วมมืออันดีเยี่ยมระหว่างแฟชั่นดีไซเนอร์ 10 คนในปี 2019 สุดท้ายของการแข่งขันกับสตูดิโองานฝีมือทั้ง 10 แห่งอันประกอบด้วย เดรูส์ (Desrues), เลส์ อาเตอลิเยร์ เดอ แวร์เนย-ออง-อาแล็ตต์ (Les Ateliers de Verneuil-en-Halatte), เลอมารีเอ (Lemarié), เมซง มิเชล (Maison Michel), เลอซาจ (Lesage),กูส์ซองส์ (Goossens), อาเตอลิเยร์ มองเท็กซ์ (Atelier Montex), โกซ์ส (Causse), ปาโลมา (Paloma) และโลนญง (Lognon) ผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดเหล่านี้จะได้รับการเปิดตัวในโชว์บนรันเวย์ 2 รายการ ณ งานเทศกาลนั้นเอง
ในพิธีปิดงานเทศกาล โรเมน บิชอท (Romain Bichot) ได้รับมอบรางวัล le 19M Métiers d’art Prize จากความร่วมมือกับเลอมารีเอหนึ่งในสตูดิโองานฝีมือที่กล่าวไป โดยดีไซเนอร์จะได้รับเงินสนับสนุนจํานวน 20,000 ยูโรเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ใหม่ร่วมกับสตูดิโองานฝีมือที่เขาเลือก ซึ่งจะได้รับการเปิดตัวในงานเทศกาลครั้งที่ 40 ต่อไป
Lesage x Aristide (Barraud) : เวิร์กช็อปงานปักแบบมีส่วนร่วมจาก Le 19
เพื่อเป็นการร่วมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของสตูดิโอเลอซาจ (Lesage) หนึ่งในสตูดิโองานฝีมือของ Le 19M ทาง Le 19M จึงได้เชิญทางสตูดิโอมาจัดเวิร์กช็อปงานปักร่วมกับศิลปิน Aristide (Aristide Barraud) เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ Murmuration ภาพวาดขนาดใหญ่ปักลายรูปฝูงนกสตาร์ลิงจํานวนนับร้อยตัวที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งผลงานนี้จะได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการ “Lesage. Hundred years of fashion and decoration” ณ la Galerie du 19M จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2025
นิทรรศการของผู้ชนะรางวัลปี 2023 และผู้เข้ารอบสุดท้ายปี 2024
ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้ชมผลงานสร้างสรรค์ของผู้ชนะรางวัลในปีที่แล้ว ซึ่งรังสรรค์ขึ้นร่วมกับสตูดิโองานฝืมือที่พวกเขาเลือกด้วยเงินรางวัลสนับสนุนจากปีที่แล้วอิกอร์ เดียริก (Igor Dieryck) ผู้ชนะรางวัล Grand Prix Jury สาขา Première Vision ประจําปี 2023 และ le 19M Métiers d’art Prize ได้ร่วมมือกับสตูดิโองานปัก ‘เลอซาจ’ และสตูดิโอเครื่องหนัง ‘เลส์ อาเตอลิเยร์ เดอ แวร์เนย-ออง-อาแล็ตต์’ ขณะที่กาเบรียล ฮิวโกนอต (Gabrielle Huguenot) ผู้ชนะรางวัล Grand Prix Jury สาขา Accessory ประจําปี 2023 ได้ร่วมงานกับสตูดิโองานขนนกและดอกไม้ ‘เลอมารีเอ’ ช่างทอง ‘กูส์ซองส์’ และสตูดิโอคอสตูมจิวเวลรี่ ‘เดรูส์’ผลงานที่ออกแบบโดยอิกอร์ เดียริกได้รับการเปิดตัวในช่วงท้ายของโชว์ในวันที่ 11 และ 12 ตุลาคม และยังได้รับการนําเสนอต่อสาธารณชนใน Villa Noailles ตลอดเทศกาล ควบคู่ไปกับผลงานสร้างสรรค์ของกาเบรียล ฮิวโกนอตอีกด้วย
L’ Atelier des Matières Prize : วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
L’Atelier des Matières เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 ตามความคิดริเริ่มของเมซงชาเนล การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งหนึ่งเมซงต่างให้ความสนใจเช่นกัน โดยมีวิสัยทัศน์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัยจากอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ L’Atelier des Matières ยึดมั่นในปรัชญาเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยทําหน้าที่รวบรวมสิ่งทอและเครื่องหนังที่ผลิตขึ้นจากที่ต่างๆ ทำให้ส่งเสริมผู้ผลิตอย่างครบวงจร โดยมีทีมวิจัยและพัฒนาขององค์กรจะเป็นผู้นําในกระบวนการรีไซเคิลและการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้วัสดุใหม่เหล่านี้ตามความต้องการ และทําให้ได้มาซึ่งเส้นด้าย สิ่งทอ และวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ L’Atelier des Matières ยังดําเนินงานร่วมกับพันธมิตรทางอุตสาหกรรมและทางวิชาการในยุโรปอีกกว่า 40 ราย ซึ่งแต่ละรายล้วนเชี่ยวชาญในสาขาการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การอัปไซเคิลและการรีไซเคิลทั้งสิ้น L’Atelier des Matières มีส่วนสนับสนุนในการสร้างสรรค์อนาคตที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยส่งเสริมวงจรที่ดีของการลดระดับสินค้าคงคลัง การรีไซเคิล และการจัดหาวัสดุ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการอันชาญฉลาด และการสนับสนุนให้ลูกค้าของบริษัทใช้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและรีไซเคิลตั้งแต่ต้นอีกด้วย
นับเป็นปีที่สามติดต่อกันแล้วที่ L’Atelier des Matières ได้เป็นพันธมิตรกับเทศกาลแฟชั่น ภาพถ่าย และเครื่องประดับนานาชาติ ณ เมือง Hyères ซึ่งจัดงานเป็นครั้งที่ 39 แล้ว ในปีนี้ผลงานออกแบบที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมดจะได้รับการเปิดตัวในโชว์บนรันเวย์สองรายการ ซึ่งจะจัดขึ้นในโชว์รูมของเทศกาลนอกจากนี้ รางวัล L’Atelier des Matières ยังมอบให้กับโรเมน บิชอท สําหรับผลงานสร้างสรรค์จากวัสดุรีไซเคิลที่เขาได้รับ โดยดีไซเนอร์ยังจะได้รับวัสดุที่ยังไม่ได้ใช้งานและวัสดุรีไซเคิลมูลค่ากว่า 10,000 ยูโรเพื่อนำไปสร้างสรรค์งานอื่นๆอีกด้วย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2024 ระหว่างพิธีปิดงานเทศกาลครั้งที่ 39 โดเลฟ เอลรอน (Dolev Elron) ผู้ชนะรางวัล Grand Prix Jury สาขา Première Vision และ ฉีหยาง ต้วน (Chiyang Duan) ผู้ชนะรางวัล Grand Prix Jury สาขา Accessories ต่างได้รับทุนสนับสนุนจํานวน 20,000 ยูโรเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ใหม่ร่วมกับสตูดิโองานฝีมือที่พวกเขาเลือก ซึ่งจะเปิดตัวในปีหน้าระหว่างงานเทศกาลครั้งที่ 40
บทความที่เกี่ยวข้อง:
Chanel Métiers d’art 19M รางวัลแห่งหัตถศิลป์
Grand Palais และ Chanel สิ่งที่คนแฟชั่นควรรู้ก่อนไปเยือน
เบื้องหลัง CHANEL คอลเลกชั่น Métiers d’art 2022/23 ผ่านสารคดีสั้น 4 ตอน!