22 สิงหาคมนี้ คงไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดมาแรงไปกว่า‘วิมานหนาม’ เรื่องราวของการแย่งชิงสวนทุเรียนบนความไม่เท่าเทียม ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ เจฟ ซาเตอร์ และ อิงฟ้า วราหะ ร่วมด้วย เต้ย พงศกร เมตตาริกานนท์, เก่ง หฤษฎ์ บัวย้อย และ สีดา พัวพิมล โปรดิวซ์โดย วัน วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ และกำกับโดย บอส นฤเบศ กูโน ผู้กำกับมากความสามารถ เจ้าของผลงาน ‘แปลรักฉันด้วยใจเธอ’
นอกจากพลังดาราของนักแสดงและการการันตีฝีมือของผู้กำกับแล้ว ประเด็นสำคัญของเรื่องความเท่าเทียมของผู้คนที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQIA+ และข้อเสียเปรียบทางกฎหมายที่คนเหล่านี้ต้องได้พบเจอ แน่นนอนว่านี้คงไม่ใช่สารคดีเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมแต่อย่างใด แต่มันคือการเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดและการแย่งชิงผลประโยชน์ที่ทำให้คนดูกลับมาตั้งคำถามถึงความยุติธรรมในสังคมปัจจุบันเสียมากกว่า
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_1611.jpg)
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9119-1.jpg)
กฎหมายสมรสเท่าเทียม
แน่นอนว่าในประเด็นหลักและแรงบันดาลใจในภาพยนตร์นั้นมาจากเรื่องของความไม่เท่าเทียมทางเพศ โดยในอีกนัยยะหนึ่งตัวภาพยนตร์แฝงถึงความเป็นไปได้หากความไม่เท่าเทียมนี้ยังคงมีอยู่ในสังคม ซึ่งทำให้คู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถใช้สิทธิต่างๆที่ควรจะมีได้เช่น การต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส การอุปการะบุตรบุญธรรม รวมไปถึงอำนาจหรือสิทธิในฐานะคู่สมรส เช่นการเซ็นรับรองต่างๆเช่น สิทธิในการตัดสินใจแทนทางการแพทย์
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9121-2.jpg)
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9117-1.jpg)
ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง’วิมานหนาม’นั้นได้ใช้ประเด็นนี้ในการเล่าเรื่องราวที่’ทองคำ’ได้ประสบ ทั้งการที่เสียคนรักไปจากอุบัติเหตุโดยไม่มีมรดกหรือเอกสารที่ระบุว่าเขาและ’พี่เสก’เป็นเพียงเพื่อนกันเท่านั้น และเปิดโอกาสให้’แม่แสง’และ’โหม๋’เข้ามามีกรรมสิทธิเหนือที่ดินและสวนทุเรียนที่มาจากความอุสาหะของเขา แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าเขาสู้ไปอย่างไรก็ดูเหมือนจะแพ้อยู่ดีเพราะ ณ เวลานั้นตัวกฎหมายยังไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด
อย่างไรก็นอกเหนือจากบทภาพยนตร์ ข่าวดีของประเทศในวันที่ 18 มิ.ย.2567 ซึ่งเป็นเดือน Pride Month ร่าง’กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ผ่านด้วยที่ประชุม สว. มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกฎหมายสมรสเท่าเทียม ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 130 เสียง ถือเป็นเสียงข้างมากจากวุฒิสภาไทย และประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่ 3 ในทวีปเอเชียที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน ขั้นตอนต่อไปคือการนำกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้เข้าสู่ขั้นตอนการประกาศใช้เป็นกฎหมาย หลังจากการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไทย และมีผลบังคับใช้จริง 120 วัน หลังจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แต่หากมองภาพรวมของเอเชีย “ไทย” เป็นเพียงประเทศที่ 3 ในเอเชียเท่านั้นที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ผ่านด้วยที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งในแต่ละประเทศทั่วโลกจะเริ่มทยอยผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยในเอเชียมี 2 ที่คือ ไต้หวันกับเนปาลแต่แม้จะมีคู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกกฎหมาย ตามคำสั่งชั่วคราวของศาลเมื่อปลายปี 2023 ซึ่งถือเป็นคู่แรกของประเทศ แต่ ณ ตอนนี้รัฐสภาเนปาลก็ยังไม่ได้ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม และยังคงมีอีกหลายประเทศบนโลกที่ความเสมอภาคทางเพศยังไม่ถูกแม้แต่พูดถึง
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_1609-1.jpg)
อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ถือเป็นอีกกระบอกเสียงที่จะทำให้ผู้คนหันกลับมามองถึงประเด็นดังกล่าว ที่การเรียกร้องสิทธิของคู่รักเพศเดียวกัน ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของความรักอันสวยงาม แต่มันเป็นเรื่องของสิทธิในความเท่าเทียมของการเป็นมนุษย์ที่ไร้เส้นแบ่งทางเพศสภาพเช่นกัน
‘สี’ และนัยยะของตัวละคร
เรียกได้ว่าภาพยนตร์จะนำเสนอแง่มุมของความเท่าเทียม แต่อีกอย่างหนึ่งที่วิมานนามทำได้อย่างดีเยี่ยมคือการนำเสนอวิถีชีวิตในชนบทและวัฒนธรรมของชาวไทยที่ผสมผสานวัฒนธรรมของกลุ่มไทใหญ่ พร้อมวิวทิวทัศน์ที่ต่างๆในจังหวัดแม่ฮ่องสอนอันสวยงาม พร้อมการแฝงสัญญะไว้ในองค์ประกอบภาพต่างๆ จากที่เห็นในทางทีมงานออกแบบโดยการใช้สีต่างๆกับตัวละครในหลากๆฉายในเรื่องอ้างอิงจากสัญลักษณ์ของ LGBTQIA+ ซึ่งคือธงสายรุ้ง
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/Screenshot-2567-08-22-at-11.58.22.png)
ธงสีรุ้ง เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1978 โดยการออกแบบของ กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินชาวอเมริกัน และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของสังคมเกย์ ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจและการผลักดันจาก ฮาร์วีย์ มิลก์ (Harvey Milk) นักการเมืองอเมริกันคนแรก ที่กล้าหาญในการเปิดเผยรสนิยมทางเพศในการชายรักชายของเขา โดยสีบนธงสีรุ้งประกอบไปด้วยในเวอร์ชั่นแรกมี 8 แถบสี ได้แก่
สีแดง (Red) หมายถึงชีวิต (Life)
สีส้ม (Orange) หมายถึงการรักษา (Healing)
สีชมพูสด (Hot Pink) หมายถึงเซ็กซ์ (Sex)
สีเหลือง (Yellow) หมายถึงแสงแดด (Sunlight)
สีเขียว (Green) หมายถึงธรรมชาติ (Nature)
สีเขียวอมฟ้า (Turquoise) หมายถึงศิลปะ (Magic)
สีคราม (Indigo) หมายถึงความสามัคคี (Serenity)
สีม่วง (Violet) หมายถึงจิตวิญญาณ (Spirit)
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/Screenshot-2567-08-22-at-11.57.54-1-430x209.png)
จะเห็นได้ว่าตัวละคร ทองคำ ในเรื่องถูกออกแบบให้ใส่ สีส้ม อยู่บ่อยครั้งซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับการเยียวยา รักษา ซึ่งตัวภาพยนตร์อาจจะบอกใบ้ถึงบริบทถึงการที่ทองคำเยียวยาสวนทุเรียนของสามีอย่างเสกที่ใส่เสื้อสีม่วงซึ่งเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณในการทำสวนนี้ อีกตัวละครหนึ่งที่ปรากฎตัวในสีเสื้อสีชมพูสดอยู่บ่อยครั้งนั้นก็คือ โหม๋ ที่ตัวสีนั้นมีความหมายถึงเซ็กซ์ซึ่งต้องติดตามดูในภาพยนตร์ว่า โหม๋ จะมีบทบาทอะไรนอกเหนือจากที่เราเห็นในตัวอย่าง
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9392-1.jpg)
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9124-1.jpg)
ประเพณีปอยส่างลอง หรือ ประเพณีบวชลูกแก้ว
แน่นอนว่าความดีจากการดูแลแม่แสงตลอดเวลาของ ‘โหม๋’ นั้น จะทำให้แม่งแสงกับเธออยู่ทีมเดียวกันไปโดยปริยาย แต่อย่างไรก็ตาม การบวชทดแทนคุณ นั้นถือว่าเป็นความดีที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ทองคำนำมาสู้ เพราะตามความเชื่อนั้นผลบุญจากการบวช โดยทองคำใช้ความได้เปรียบทางเพศบวชทดแทนคุณแทนพี่เสกที่เสียชีวิตไปเพื่อเอาชนะใจแม่แสง
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9125-2.jpg)
ประเพณีบวชลูกแก้วหรือที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ประเพณีปอยส่างลอง นั้นเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและในจังหวัดเชียงใหม่บางอำเภอคนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่และจัดให้ผู้ชายที่ต้องการบวชที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและมักจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ประมาณ 3-5 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก ฉะนั้นคนที่ต้องการเข้าพิธีนี้จะต้องมีความแน่วแน่ในการบวชอย่างยิ่ง
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_9121-3.jpg)
จากในภาพยนตร์นั้นจะเห็นได้ว่าส่างลองทองคำ (ส่างลอง แปลว่า หนุ่มก่อนเป็นสามเณร) แต่งกายอย่างสวยงาม โดยมีการนำชฎามาสวมใส่ให้แก่ผู้บวชอย่างสวยงามตามที่ตำนานความเชื่อของพุทธศาสนาที่ผู้คนจะจัดงานงานต้อนรับพระมารดาของพระพุทธเจ้า ครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จกลับลงมาเมืองมนุษย์พร้อมเทวดา นางฟ้า โดยในตัวอย่างจะเห็นจะได้ว่า ‘ทองคำ’ อยู่ในขบวนแห่รอบเมืองบนคอของ ‘จิ่งนะ’ สิ่งนี้เป้นความเชื่อที่ว่าลูกแก้วนั่นเขาเปรียบเสมือนเป็นเทวดา และห้ามไม่ให้ลูกแก้วได้เหยียบพื้น
![](https://lofficielthailand.com/wp-content/uploads/2024/08/IMG_1612-1.jpg)
อย่างไรก็ตามการแยกชิงสวนทุเรียนของทองคำ อาจจะไม่ได้ทำไปเพียงความอยู่รอดของตนเอง แต่สิ่งนี้ยังเป็นการสื่อถึงการเรียกร้องความยุติธรรมและสิทธิที่เขาควรจะได้รับ และการต่อสู้ของเขาอาจจะแฝงนัยยะบางอย่างที่มากกว่าเรื่องเงินทอง ทรัพย์สิน และ สมบัติต่างๆ