อิสระแห่งท่วงท่าในการเต้นรำและความเกี่ยวผันกับดีไซเนอร์หญิงหัวคิดขบถ ที่พร้อมเปิดเผยผ่าน ซีรีย์ INSIDE CHANEL ตอนที่ 29
มากกว่าแค่ท่วงท่าที่เยื้องย่างไปตามจังหวะเสียงเพลง หากแต่การเต้นรำของกาเบรียล ชาเนล กลับมีความหมายลึกซึ้งที่เชื่อมโยงถึงกัน ด้วยสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างโลกแฟชั่น อุปรากรอันลือลั่น และการแสดงของเหล่านักเต้นรำต่างสาขา ก่อเกิดเป็นแนวคิดมากมายที่คอยบ่มเพาะจิตวิญญาณของผู้หญิงชาเนลให้กล้าลุกขึ้นปลดแอก แสดงออกถึงตัวตนบนความศรัทธาจากเบื้องลึกในจิตใจของตนเอง กลายเป็นสายใยดีเอ็นเอที่เกี่ยวผันกันไว้อย่างเหนียวแน่น
- การเต้นรำคือ ธรรมชาติ
สำหรับกาเบรียล ซาเนล การเต้นรำเป็นการแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้นำมาไว้ในโลกของแฟชั่น และในฐานะนักออกแบบรุ่นใหม่ เธอได้เข้าเรียนต้นรำกับนักเต้นที่เป็นตำนานอย่าง คารยาริส (Caryathis) และอิซาคอรา ดันแคน (Isadora Duncan)
- การเต้นรำคือ การเปิดเผย
ในกรุงปารีส เธอได้พบกับคณะบัลเลต์ รูสส (Ballets Russes) ขณะติดตามบอย คาเปล (Boy Capel) ในกรุงเวนิส มิเซียแนะนำให้เธอได้รู้จักกับเซอร์เก้ เดียกิเลฟ (Serge Diaghilev) ผู้ก่อตั้งคณะบัลเลต์ที่มีแนวคิดยุคก้าวล้ำ (Avant Garde) นี้
- การเต้นรำคือ การเปิดกว้าง
เดียกิเลฟมองว่ตัวเองเป็นแชมป์ในการนำเสนองานศิลปะอย่างสมบูรณ์แบบ ผลงานการเต้นรำของเขามีทั้งดนตรี บทกวี ภาพวาด และแฟชั่น กาเบรียล ซาเนลเป็นทั้งสหาย นักออกแบบเสื้อผ้าและผู้สนับสนุนเขา ทั้งนี้ เดียกิเลฟได้ร่วมงานกับด็อกโต (Cocteau), ปิกัส โซ (Picasso), บรัก (Braque), สตราวินสกี (Stravinsky), นิชินสกี (Nijinsky), ชาตี (Satie), และเดอบุสซี Debussy
- การเต้นรำคือความกล้าหาญ
หลังจากปลดปล่อยผู้หญิงให้เป็นอิสระจากคอร์เซ็ตแล้ว เธอช่วยให้ศิลปินในคณะบัลเลต์ รูสส์ป็นอิสระจากเสื้อผ้าที่เหนี่ยวรั้ง พวกเขาไว้ด้วย เป็นพราะเธอ จึงทำให้ในปี ค.ส. 1924 สาธารณชนได้เห็นนักเต้นบัลล่ต์สวมชุดว่ายน้ำ และชุดเหนนิสหรือชุดเล่นกอลัฟเป็น ครั้งแรกในการแสดงเรื่องเลอ แหร็ง เบลอ (Le Train Bleu) ของด็อกโต
- การเต้นรำคือ ความอาดูร
เดียกิเลฟเสียชีวิตในกรุงเวนิสในวันเกิดของกาเบรียล เธอรีบรุดไปที่ข้างเตียงเขา ดูแลค่าใช้จ่ายในพิธีศพ และร่วมเขาเดินทางข้ามทะเลสาบเป็นครั้งสุดท้าย
- การเต้นรำคือ ความศรัทราตลอดกาล
แม้ในวันสุดท้ายของเธอ กาเบรียลก็ยังคงเป็นสหายสนิทของนักเต้นรำอย่าง เซอร์เก้ ลิฟาร์ (Serge Lifar) ซึ่งถือว่าเธอเป็น ผู้อุปถัมภ์ด้านศิลปะของเขา การเต้นรำยังคงเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติ สืบต่อมา ชาเนลยัดงรักษามดกบทอดจากโคโค่ด้วยการเป็นผู้อุปถัมภ์ปารีส โอเปร่า (Paris Opera) และเป็นผู้สนับสนุนคณะบัลเลต์ที่ มีชื่อเสียงอื่นๆ ทั่วโลกด้วย