Friday, April 19, 2024

เรียนรู้คุณค่างานฝีมือบนผืนผ้า สู่นวัตกรรมเรือนเวลาที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น 

หนึ่งวันกับการเรียนรู้และชื่นชมงานฝีมือที่มีต้นกำเนิดจากศตวรรษที่ 19 จากสองซีกโลก

หากมองย้อนถึงภูมิปัญญาที่บ่มเพาะอัตลักษณ์ชาวไทยจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นเอกของชาติ หนึ่งในนั้นย่อมมี ‘เรื่องราวของผืนผ้าและเครื่องนุ่งห่มของไทย’ ซึ่งถูกสืบต่อองค์ความรู้งานช่างจากอดีตเรื่อยมาจนปัจจุบันนับร้อยปี ไม่ต่างไปจากนวัตกรรมนาฬิกาของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe) ที่บรรจงสรรสร้างกลไกเรือนเวลาจนมีประวัติศาสตร์ยาวนานร่วม 180 ปี กลายเป็นที่มาให้ลอฟฟีเซียล ไทยแลนด์ จับมือร่วมกับ PMT The Hour Glass คิดจัดงาน L’Officiel Thailand x PMT The Hour Glass Present «Weaving Art Through Time » by Patek Philippe เพื่อบอกเล่าถึงศิลปะการประดิษฐ์นาฬิกาสำหรับสุภาพสตรีจากแบรนด์ที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดแบรนด์หนึ่งจากสวิสเซอร์แลนด์ ร้อยเรียงเกร็ดความรู้จากผ้าภูษาในราชสำนัก ที่เชื่อมโยงถึงปรัชญา ‘งานศิลปะอันทรงคุณค่า สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น’


ท่ามกลางความโออ่าของสถาปัตยกรรมยุโรปร่วมสมัยสไตล์นีโอคลาสสิค เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ณ บ้านเลขที่ 1 ซอยกัปตันบุช คือสถานที่จัดงานในครั้งนี้ ซึ่งเราตั้งใจเลือกให้แขกคนสำคัญได้มาเรียนรู้และชื่นชมประวัติศาสตร์งานฝีมือจากสองซีกโลก ที่พร้อมเปิดต้อนรับให้คนรัก Patek Philippe ได้มาเรียนรู้ถึงต้นกำเนิดเรือนเวลาตั้งแต่สมัยปลายศตวรรษที่17


เรื่อยมาจนถึงยุคทองในช่วงก่อนศตวรรษที่ 19 ซึ่งทางแบรนด์เริ่มหันมาพัฒนากลไกนาฬิกาสำหรับสุภาพสตรีให้ซับซ้อนกว่าเคย  จนในปีค.ศ. 1916 Patek Philippeได้เปิดตัว Repeating Wristwatch นาฬิกาข้อมือสำหรับสุภาพสตรีที่มีหน้าปัดสีขาว ตัวเรือนทำจากแพลตินั่ม สายทอห่วง ที่พลิกความเชื่อว่านาฬิกาคอมพลิเคชั่นเป็นสิ่งที่บุรุษพึงครอบครองแต่ผู้เดียว

และจนถึงทุกวันนี้ Patek Philippe ยังคงตั้งใจพัฒนากลไกนาฬิกาคอมพลิเคชั่นสำหรับสุภาพสตรี เพื่อมาตอบโจทย์นักสะสมทั้งในด้านฟังก์ชั่นและดีไซน์ ที่ซ่อนด้วยรายละเอียดจากกลไกสุดอัศจรรย์ ทั้งแบบ Annual Calendar, Perpetual Calendar Chronograph, World Time ไปจนถึง Minute Repeater โดยไม่ลืมแต่งแต้มสีสันด้วยวัสดุชั้นเลิศ อัญมณีน้ำงาม เข้ากับดีไซน์ชั้นเลิศ ที่นำเสนอความงดงามบนสรีระข้อมือของหญิงสาว ซึ่งล้วนรังสรรค์ขึ้นด้วยงานฝีมือประหนึ่งงานศิลปะอันทรงคุณค่า จนกลายเป็นที่ปรารถนาของสุภาพสตรีทั่วโลก


สอดคล้องกับปรัญชา แนวคิดอนุรักษ์ของอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เครื่องนุ่งห่มผ้าไทย ที่นำ‘ผ้าภูษาผ้าทรงในราชสำนักสยาม’มาบอกเล่าเรื่องราววิวัฒนาการเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงความปราณีตของผ้าที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี  เพื่อสะท้อนสถานะของผู้สวมใส่ความงามทั้งสองแขนงนี้ถูกนำมาผนวกเข้าด้วยกันภายในงาน เพื่อเชิดชูงานศิลปะที่เดินทางก้าวผ่านกาลเวลาจากรุ่นสู่รุ่น

 

Other Articles