Monday, May 6, 2024

10+ Wonders at Tiffany Wonder Tokyo.

นิทรรศการที่น่าชมที่สุดถ้าใครมีโอกาสไปโตเกียวไม่ควรพลาด บางคนอาจจะได้ชมมาแล้วเพราะนิทรรศการ Tiffany Wonder Tokyo เปิดให้ชมตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน – 23 มิถุนายน ศกนี้ ที่ Tokyo Node Gallery ชิ้นงานเกือบ 300 ชิ้น ที่ไม่เคยผ่านตาหรือจัดแสดงที่ไหนมาก่อน ใครที่สนใจงานดีไซน์เครื่องประดับชั้นสูงต้องไม่พลาด หรือใครที่หลงใหลใน Blue box ยิ่งต้องหาโอกาสไปชมให้ได้ เรามาดูกันว่าความว้าวที่ Wonderful ของนิทรรศการนี้มีอะไรบ้าง  

1.คำถามแรกที่หลายคนต้องมีในใจ“ทำไมต้องเป็นโตเกียว”สำหรับนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ของ Tiffany & Co. เช่นนี้ ก็เพราะสายสัมพันธ์ที่มีอย่างยาวนานของทิฟฟานีและประเทศญี่ปุ่นที่สืบย้อนไปตั้งแต่การเร่ิมต้นของทิฟฟานี ตั้งแต่ปี 1837 Charles Lewis Tiffany ได้เดินทางมาไกลถึงญี่ปุ่นเพื่อแสวงหาเครื่องประดับชิ้นพิเศษสุดสำหรับลูกค้าของเขา งานเครื่องทองญี่ปุ่นมีความวิจิตรและเปี่ยมล้นด้วยงานฝีมือขั้นสูง ในนิทรรศการนี้มีตัวอย่างชิ้นงานที่เป็นสร้อยคอทองคำแกะลายนกกะเรียนกับต้นสน และงานชิ้นอื่นๆ ที่เป็นงานเครื่องทองของญี่ปุ่นในยุคนั้น 

2.แน่นอนว่าตามการประชาสัมพันธ์งานนี้ The Tiffany Daimond เพชรสีเหลืองคที่เป้นตำนานตือไฮไลท์สุด แต่เมื่อถามผู้บริหารระดับสูงของทิฟฟานี เขาบอกว่ามีอีกชิ้นงานที่ทำให้ต้องฉงน เพราะไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และเป็นิช้นที่ประมูลกลับมาอยู่ในความครอบครองของทิฟฟานีเมื่อไม่นานมานี้ และเป็นครั้งแรกที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ นั่นก็คือเข็มกลัดเมดูซา ซึ่งจากการตรวจสอบทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นผลงานการออกแบบเครื่องประดับของ Louis Comfort Tiffany ที่ทำขึ้นราวๆ ปี 1920-04 

นำจัดแสดงในงาน Louisiana Purchase Exposition ในปี 1904 จากนั้นก็หายไปจากความทรงจำจนได้กลับคืนสู่ทิฟฟานีอีกครั้ง งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงรากฐานงานดีไซน์ของทิฟฟานี ที่รูปทรงอิสระ มีความอิงกับธรรมชาติ(โอปอลตรงกลางชวนให้นึกถึงแมงกะพรุน) การนำเอารัตนชาติที่ไม่จำกัดว่าต้องเป็นแค่เพชรมารังสรรค์เป็นชิ้นงาน เข็มกลัดชิ้นนี้จึงมีคุณค่าทางใจสำหรับคนของทิฟฟานีเป็นอย่างสูง

3.การมองเห็นช่องทางใหม่ๆ ในการทำการตลาดเป็นสิ่งที่ฝังแน่นในความเป็นทิฟฟานี ตั้งแต่ห้องแรกๆ ของนิทรรศการ หลังจากเราชมมัลติมีเดียที่เปลี่ยนห้องโถงขนาดใหญ่ทั้งห้องกลายเป็นโลกแห่งทิฟฟานี เราก็จะเห็นการจัดแสดง Tiffany blue book กับชิ้นงานเด่นๆ ของยุคนั้น ที่ทิฟฟานีเริ่มส่งแคตตาล็อคงานออกแแบที่สวยงามไปทางไปรษณีย์สำหรับลูกค้า โดยปกหนังสือนั้นจะเป็นสีฟ้าจนเป็นเอกลักษณ์ เฉดสีฟ้าทิฟฟานียุคแรกๆ ออกไปทางสีเขียวมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งที่มาก็ไม่มีการยืนยันนอกจากเป็นการคาดการ แต่ที่แน่ๆ สีฟ้าเทอร์คอยซ์ในยุคนศตวรรษที่ี 19 คือสีที่เป็นตัวแทนของสังคมชั้นสูงในยุโรป เพราะเป็นเฉดสีที่ทำได้ยากสำหรับงานสิ่งทอ คนที่จะสวมชุดโทนสีนี้ได้จึงมีเฉพาะกลุ่ม แต่ปัจจุบันมีการจดลิขสิทธิ์แพนโทนแล้วว่าสีฟ้าทิฟฟานีจะเป็นเฉดสีฟ้าแบบใด

4.ในบรรดางานสร้างสรรค์ของทิฟฟานี ดีไซน์ดอกกล้วยไม้คือความสุดเอ็กโซติกแรกๆ ที่แสดงให้เห้นถึงความเชี่ยวชาญของงานช่าง ผสานกับจินตนาการสุดล้ำแต่เรียบง่ายอิงกับธรรมชาติของ George Paulding Farnham ที่ทำให้เข็มกลัดดอกกล้วยไม้นี้เหมือนจริงด้วยการลงยา(enamel) แต่ก็ตกแต่งก้านดอกด้วยอัญมณี เป็นดอกกล้วยไม้ในงานเครื่องประดับที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงจนทุกวันนี้

5.แน่นอนว่านิทรรศการนี้ต้องมีดีไซน์ Bird on the Rock ที่เรื่องราวที่มาของดีไซน์ชิ้นเอกของ Jean Schlumberger และเราก็ได้เห็นดีไซน์แรกๆ ของนกที่กลานมาเป็นสัญลักษณ์ของทิฟฟานีในปัจจุบัน บันนี เมลอน สาวสังคมชั้นสูงแห่งนิวยอร์กได้ขอให้ชลัมแบร์แฌร์ ออกแบบเข็มกลัดให้เธอ และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยจุดเด่นจะอยู่ที่อัญมณีที่มาเป็นร็อคให้นกเกาะ ตัวนกประดับเพชรนี้จะมีขนาดเท่ากันหมดในยุคแรกๆ ไม่ว่าอัญมณีจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่ยุคหลังมีอัญมณีที่สูงค่าแต่ขนาดอาจจะย่อมลงมามากจึงทำให้ขนาดของนกปรับให้เหมาะตามขนาดอัญมณี มีถึงระดับที่นกน้อยนั้นเกาะอยู่บนเพชร 

ที่น่าแปลกใจคือเข็มกลัด Bird on the Rock กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่สุภาพบุรุษ กลายเป็นชิ้นสำคัญที่หนุ่มๆ จะเลือกเป็นเครื่องประดับชิ้นเอกของตน 

6.ไม่เพียงแต่มานำเอาดีไซน์เครื่องประดับเครื่องทองของญี่ปุ่นไปเผยแพร่ในโลกตะวันตก แต่ญี่ปุ่นยังเป็นแรงบันดาลใจให้ทิฟฟานี โดยเฉพาะในยุคเซเวนตี้ นักออกแบบคนสำคัญของทิฟฟานี คือ Elsa Peretti ได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากญี่ปุ่น เธอได้เดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่นก่อนที่จะเริ่มทำงานกับทิฟฟานี เธอหลงใหลในรูปทรงธรรมชาติ และญี่ปุ่นก็มีให้สิ่งนี้กับเธอ ในส่วนนิทรรศการเราจะเห้นสมุดบันทึกของเธอ งานดีไซน์ที่ได้แรงบันดาลใจจากการร้อยรัดมัดห่อ งานเครื่องรัก ไปจนถึงการผูกปมของเส้นไหม จนทุกวันนี้ดีไซน์ของเธอก็ยังมีร้านทิฟฟานี แต่จะมีให้เลือกมากมายที่สุดที่ร้านทิฟฟานีนิวยอร์ก เพราะเธอออกแบบของใช้ของแต่งบ้านให้ทิฟฟานีด้วย ปีนี้ยังครบรอบ 50 ปีของงานดีไซน์ Bone bracelet ของเธอที่ทำให้ทิฟฟานีด้วย

7. ในห้อง Garden of Imagination ของ Jean Schlumberger ตระการตาด้วยผลงานออกแบบของเขาที่นำมารวมไว้ที่นี่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แสดงให้เห็นถึงความอัจฉริยะของเขา ด้วยความที่เขาชอบเดินทาง ชอบศึกษาเรื่องธรรมชาติ งานดีไซน์ของเขาจึงมีเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน สร้อยคอที่ชื่อ Plume หรือขนนกสร้างชื่อให้เขามาก แต่สำหรับคนยุคนี้คงไม่มีอะไรที่เป็นที่รู้จักเท่า Bird on the Rock แต่ส่วนตัวแล้วชอบเข็มกลัดรูปแมงกระพรุน La Meduse Brooch(1967) ที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ด้วย(ภาพอยู่ในข้อ 10) แต่อยู่ในโซนของตู้ดิสเพลย์ก่อนจะถึงห้องเพชรทิฟฟานีสีเหลือง นี่ยังไม่รวมถึงสร้อยคอ ต่างหูและเข็มกลัดดีไซน์อื่นๆ ที่มีลายเซ็นในงานออกแบบทุกชิ้น(หมายถึงมีเอกลักษณ์ที่ไม่บอกก็รู้ว่าผลงานของเขา)    

8 ภายในห้องสุดท้ายที่เป็นไฮไลท์ของงาน เพชรสีเหลืองที่เจียรนัยมาแล้วว่าได้เหลี่ยมมุมที่สวยที่สุดจนเหลือ128.54 กะรัต(เดิม 287.42 กะรัต) Tiffany Diamond ที่เป็นตำนานคู่กับทิฟฟานี โดยมีการนำไปเข้าตัวเรือนในปี 1957 เมื่อ Jean Schlumberger เข้ามาร่วมงานกับทิฟฟานีใหม่ๆ เขาได้รับมอบหมายให้ดีไซน์สร้อยสำหรับเพชรเม็ดนี้ และออรเดรย์ แฮปเบิร์นจะเป็นผู้สวมใส่เพื่อโปรโมทภาพยนตร์ Breakfast at Tiffany’s ชลัมแบร์แฌร์ ออกแบบสร้อยริบบิ้นขึ้นมาทำให้คนตะลึง ยิ่งได้คนสวมคืออร์เดรย์และเพชรสีเหลืองที่ไม่เคยมีใครได้สวม เธอคือผู้หญิงคนแรกที่ได้สวมเครื่องประดับจากเพชรเม็ดนี้ ต่อมาก็เป็นเลดี้กาก้า สวมสร้อยเพชรนี้ไปงานออสการ์ปี 2019 และล่าสุดบียอนเซ่ กับสร้อยคอเพชรที่มีจี้เพชรทิฟฟานีเป็นจุดเด่นเพื่อการถ่ายทำแคมเปญให้ทิฟฟานี โดยไม่นับที่ทำเป็นสร้อยคอในภาพยนตร์ Death on the Nile ครั้งล่าสุดที่เป็นคอสตูม แต่สร้อยคอที่มีจี้เพชรสีเหลืองและกล่องสีฟ้าของทิฟฟานีก็ทำให้คนจดจำ

และครั้งนี้เพชรสีเหลืองสุดอลังการได้กลายมาเป็นจี้ที่มีนก 5 ตัวล้อมรอบ โดยได้แรงบันดาลใจมากจากนกของชลัมแบร์แฌร์ นับว่าเป็นดีไซน์ล่าสุด(2022) และเป็นครั้งแรกที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการใหญ่ระดับนี้      

9.ในห้องที่แสดงแรงบันดาลใจจากญี่ปุ่น มีส่วหนึ่งที่แสดงโคมไฟสเตนกลาสที่ออกแบบโดย Louis Comfort Tiffany สำหรับคนที่สนใจเรื่องสถาปัตยกรรม นี่ถือเป็นดีไซน์ที่เป็นชิ้นเอกของยุคและเป็นภาพลักษณ์ของ Tiffany & Co. ในช่วต่อของศตวรรษที่ 19 และ 20 เทรนด์ดีไซน์แบบอาร์ตนูโวเป็นที่นิยมมาก และดคมำฟทิฟฟานีถือเป็นหนึ่งในดีไซน์ชิ้นเอก จนกลายเป็นที่เรียกโคมไฟสไตล์นี้ว่าโคมไฟทิฟฟานี  

10. ส่วนจัดแสดงที่น่าสนใจอีกโซนหนึ่งก็คือการจำลองวินโดว์ดิสเพลย์หรือการแสดงสินค้าผ่านช่องหน้าร้าน ซึ่งทิฟฟานีเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากเรื่องการจัดดิสเพลย์นี้ และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของทิฟฟานีหลายต่อหลายคนได้ฝากฝีมือไว้และเป็นที่เลื่องชื่อกล่าวขานมาจนทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำลองโลกใต้ทะเลด้วยดีไซน์ของ Jean Schlumberger หรือการจำลองท่าเรือเล็กๆ เพื่อวางสร้อยคอ แต่ที่เป็นภาพจำก็คือการใช้แรด 2 ตัวมาเป็นดิสเพลย์ของกำไล แรดนี้เป็นงานพอร์ซเลนในพระราชวังนิวเฟนเบอร์ก และถูกจำลองมาใช้บ่อยครั้งเมื่อ Gene Moore เป็นผู้อำนวยการฝ่ายดิสเพลย์ จนเป็นเอกลักษณ์ผลงานของเขา  

11.ทิฟฟานีประมูลชุดที่ออเดรย์สวมในบทฮลลีย์ โกไลลีย์ ในภาพยนตร์ Breakfast At Tiffany’s มาได้ 2 ชุดและหมวกที่เธอสวมกับชุด Little black dress ที่เธอสวมตอนไปเยี่ยมหัวหน้าแกงค์มาเฟียในคุก ชุดนั้นไม่ด้มาด้วย แต่หมวกนี้ก็เป็นที่กล่าวขานเพราะเป็นหมวกปีกกว้างมีผ้าสีขาวคาดทิ้งชายยาว เป็นหมวกที่เด่นมากเพราะขนาดของปีกหมวกและชายผ้า กลายเป็นภาพจำไม่แพ้เดรสแขนกุดสีดำที่เธอสวม ชุดทั้งหมดเป็นฝีมือของอูแบรต์ เดอ จิวองชี  โดยเฉพาะเดรสสีดำที่เธอสวมเปิดเรื่อง และเป็นชุดไอคอนิกที่สุดชุดหนึ่งของวงการภาพยนตร์ โดยสร้อยมุกที่สวมเป็นคอสตูม อีกชุดคือเดรสสั้นสีชมพูช็อกกิ้งพิ้งค์และเสื้อคลุมที่เธอสวมไปงานปาร์ตี้ โดยทิฟฟานีไม่ได้ออกแบบเครื่องประดับให้ภาพยนตร์ชุดนี้แต่มีการใช้สถานที่และฉากเปิดเรื่องที่ออเดรย์เดินหน้าร้านทิฟฟานีก้กลายเป็นภาพจำและทำให้คนจดจำทิฟฟานีตลอดมาจนทุกวันนี้

12.ด้านหน้าทางเข้างานมีประติมากรรมนกที่กลายเป็นดีไซน์ไอคอนิกของทิฟฟานีได้ถูกนำมาขยายเป็นตัวใหญ่ยักษ์เกาะบนกล่องสีฟ้าทิฟฟานีเป็นชิ้นเด่นของทางเข้า และตรงนี้จะสามารถสแกนเพื่อทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวเป็นนกตัวนี้โบยบินในไอจีได้

นิทรรศการ The “Tiffany Wonder” exhibition จัดแสดงที่ี “Tokyo Node,” สถานี Toranomon Hills Station Tower, นิทรรศกานี้ออกแบบโดย  OMA 

Other Articles