Sunday, October 13, 2024

ชมความงดงามของ 3 มงกุฏสำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกของคิงชาร์ลส์ที่ 3 และควีนคามิลลา

มงกุฏนั้นมีน้ำหนัก…ซึ่งในเชิงสัญญะ หมายถึงอำนาจและภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของผู้ที่ได้สวมใส่ ดังเช่น มงกุฏของเหล่ากษัตริย์ผู้ปกครองประเทศทั้งหลาย  มงกุฏจึงได้รับการสร้างสรรค์อย่างวิจิตรงดงามเพื่อสะท้อนถึงความศักดิ์สิทธิ์และสูงส่งของอำนาจพิเศษที่ได้ถือครองนี้เอง 

ในพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นมหาวิหารเวสมินสเตอร์ กรุงลอนดอน ในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ หนึ่งในขั้นตอนสำคัญของพิธีก็คือ การสวมมงกุฏขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งมงกุฏที่ใช้สวมลงบนพระเศียรก็คือ St. Edward’s Crown ก่อนที่มหาชนในมหาวิหารจะเปล่งเสียงพูดคำว่า God Save The King 

St. Edward’s Crown นั้นถือเป็นสมบัติที่สำคัญของชาติ สร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1661 เพื่อพิธีราชาภิเษกของคิงชาร์ลส์ที่ 2 เพื่อแทนที่มงกุฏในยุคกลางซึ่งหลอมละลายไปแล้วในปี 1649 หลังจากมีการสำเร็จโทษกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 1 มงกุฏยุคกลางชิ้นนั้นผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 11 และเป็นของนักบุญ Edward the Confessor ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของแองโกล-แซกซอนของอังกฤษ

St. Edward’s Crown นั้นผลิตขึ้นโดย Robert Vyner ซึ่งเป็นช่างทองหลวง ตามอย่างดีไซน์มงกุฎดั้งเดิม ทั้งยอดกางเขน crosses-pattée สัญลักษณ์ดอกลิลลี หรือ Fleurs de Lys ทั้งสี่ และมีหมวกกำมะหยี่สีม่วงที่ด้านใน ตัวมงกุฏทำด้วยทอง หนักประมาณ 2 กิโลกรัม ประดับตกแต่งด้วยทับทิม อะเมธิสต์ โกเมน ทัวร์มาลีน โทปาซ และแซฟไฟร์ 

นับเป็นโอกาสที่หาได้ยากที่เราจะได้เห็น St. Edward’s Crown เนื่องจากเป็นมงกุฏที่นำออกมาใช้ครั้งเดียวในช่วงพระราชพิธีราชาพิเษกของช่วงรัชกาลหนึ่ง โดยครั้งล่าสุดที่คือในพิธีครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบธที่ 2 เมื่อปี 1953 

และหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว องค์กษัติรย์ก็จะเปลี่ยนไปทรงมงกุฎอีกอันหนึ่ง ซึ่งก็คือ Imperial State Crown เพื่อเดินทางออกจากมหาวิหารกลับพระราชวังบักกิงแฮม โดยเดิมที มงกุฏนี้ผลิตขึ้นเพื่อพิธีราชาพิเษกของกษัติรย์ จอร์จ ที่ 6 เมื่อปี 1937 เพื่อใช้แทนมงกุฎเดิมของควีนวิกตอเรีย 

Imperial State Crown ประดับด้วยเพชร 2,868 เม็ด และอัญมณีสำคัญๆ ซึ่งรวมถึง St Edward’s Sapphire ซึ่งว่ากันว่าเคยประดับพระธำมรงของ Edward the Confessor รวมถึงเพชร Cullinan II diamond ซึ่งเป็นเพชรเม็ดใหญ่ลำดับสองที่เจียระไนมาจากเพชร Cullinan Diamond ซึ่งเป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา (หนัก 3,106 กะรัต) ส่วนเพชร Cullinan I diamond ประดับอยู่บนพระคฑา 

ในส่วนของสมเด็จพระราชินีคามิลลานั้น จะทรงมงกุฎ Queen Mary’s Crown ซึ่งผลิตขึ้นเมื่อปี 1911 ในพิธีครองราชย์ของควรนแมรี่ และในดีไซน์ดั้งเดิม นอกจากจะประดับเพชร 2,200 เม็ดแล้ว ยังประดับด้วยเพชรเม็ดใหญ่ 3 เม็ด ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งเพชร Koh-i-nûr, Cullinan III และ Cullinan IV ก่อนจะเปลี่ยนเป็นคริสตัล ส่วนในพระราชพิธีครั้งล่าสุดที่จะเกิดขึ้นนั้น ได้มีการนำมงกุฏมาดัดแปลงเล็กน้อย และเปลี่ยนมาประดับเพชร Cullinan III, IV และ V ซึ่งควีนอลิซาเบธที่ 2 มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า Granny’s Chips 






Other Articles