
1/ หินสีเขียว
คำว่า emerald มาจากภาษากรีกโบราณ หมายถึง หินสีเขียว มักขุดได้จากแซมเบีย โคลอมเบีย และบราซิล มรกตยิ่งสีเขียวเข้มมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีราคา ก่อนจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา มีการเข้าใจผิดอยู่บ้างว่าอัญมณีสีเขียวต่างๆ คือมรกต
2/ ต้นกำเนิด
คุณอาจสงสัยว่าอัญมณีสีเขียวในโลกมีตั้งมากมาย แต่ทำไมมรกตจึงมีค่าขนาดนั้น? คำตอบน่าจะอยู่ที่ความหายากเนื่องจากกำเนิดของมรกต มรกตจัดเป็นคริสตัลในตระกูลเบริล ซึ่งเป็นแร่ไร้สี แต่เมื่อผสมเข้ากับโครเมียมจึงกลายเป็นสีเขียวและส่องแสงแวววาวเมื่อสะท้อนกับแสงแดด ไม่เป็นเปล่งกระกายวิบวับแบบเพชร
เบริลเลียมนั้นพบได้ในหินภูเขา และโครเมียมจะอยู่ในแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล การที่แร่ทั้งสองโคจรมาพบกันได้นั้นก็เพราะแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมาชนและดันตัวจนเกิดเป็นภูเขา น้ำและแร่ธาตุไหลแทรกซึมเข้าไปตามโพรงช่องว่าง และด้วยความร้อนสูงและแรงกด แร่ทั้งสองผสมผสานเข้าด้วยกันกลายเป็นมรกต ปรากฏกาณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ต้องย้อนกลับไปได้ถึง 4.54 พันล้านปีเลยทีเดียว

3/ เอกลักษณ์
มรกตจะมีรอยตำหนิที่เรียกกันว่า jardin หรือ garden ซึ่งดูเหมือนกับต้นไม้เติบโตอยู่ในเม็ดมรกต รอยที่ว่านี้ยังทำให้ท้าทายในการเจียระไน เราจึงมักเห็นมรกตเจียระไนแบบคาโบชง หรือแบบเหลี่ยมที่เรียกว่า emerald cut แต่ปัจจุบันนี้ การจะหามรกตที่มีตำหนิอาจจะยากยิ่งกว่ามรกตที่ไร้ตำหนิ เพราะมรกตส่วนใหญ่ในตลาดถูกปกปิดรอยตำหนิด้วยการใช้ออยล์หรือโพลีเมอร์ ทั้งที่ความจริง รอยตำหนินั้นสร้างเอกลักษณ์ให้กับมรกตเม็ดนั้น
4/ความแกร่ง
ตามสเกลของโมห์แล้ว มรกตมีความแกร่งอยู่ในระดับ 7.5-8 จากคะแนนเต็ม 10 (แน่นอนว่าอันดับหนึ่งของความแข็งแกร่งคือเพชร) แต่ถึงแม้พื้นผิวของมรกตจะไม่เป็นรอยง่ายๆ แต่ธรรมชาติที่เปราะบาง รวมไปถึงตำหนิที่อยู่ในเนื้อก็ทำให้มันแตกได้เช่นกัน
5/อัญมณีแห่งราชวงศ์
หนึ่งในอัญมณีที่เหล่ากษัตริย์ทั้งหลายเลือกใช้ก็คือมรกต ดังเช่น กษัตริย์แห่งแอซเท็กที่ทรงเครื่องประดับมรกต พระนางคลีโอพัตราผู้ทรงเสน่ห์ที่สวมเครื่องประดับมรกตที่ขุดได้จากเหมืองมรกตเก่าแก่ที่สุดในโลกเสด็จออกต้อนรับจูเลียส ซีซาร์ เช่นเดียวกับสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน ก็ทรงออกกฏห้ามทุกคนสวมใส่มรกต ยกเว่นแต่กษัติรย์เท่านั้น

