บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน lofficielusa.com
Britney Spears สวมชุดแทร็กสูทจาก Juicy Couture ใน Hollywood ปี 2003
โลกแฟชั่นมักโหยหาอดีต ทว่าคนแต่ละเจเนอเรชั่นก็ต่างกันไป เพราะในขณะที่มิลเลนเนียลผูกพันกับเทรนด์ยุค ’90s เหล่า Gen Z กลับรู้สึกถูกใจกับสไตล์ต้นยุค 2000s
Gen Z หรือผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997-2010s เติบโตมากับโทรศัพท์มือถือและปรับตัวเข้ากับเทรนด์และเทคโนโลยีได้อย่างรวกเร็ว พวกเขาเสพเรื่องราวเอ็นเตอร์เทนเมนต์ โซเชียลมีเดีย แฟชั่น และอื่นๆ ผ่านจอ ด้วยนิสัยชอบอะไรเร็วๆ คนหนุ่มสาวเหล่านี้จึงชื่นชอบและสลัดเทรนด์ใดๆ ทิ้งไปอย่างรวดเร็วราวกับสายฟ้าฟาด ทำให้วงจรแฟชั่นต้องหมุนเร็วตามไปด้วย อย่างตอนนี้ เทรนด์ Y2K จึงกำลังกลับมาเป็นที่นิยมเพราะเหล่า Gen Z ไม่ต่างจากตอนที่ชาวมิลเลนเนียลทำให้สไตล์ยุค’90s กลับมาอีกครั้ง
คนทั้งสองเจนนี้ต่างก็เสพติดเทรนด์ที่ทำให้นึกถึงอดีต โดยมองว่าแฟชั่ที่ได้แรงบันดาลใจจากวินเทจและการเชิดชูอดีตเป็นหนทางหลีกหนีและสร้างความสบายใจ สำหรับชาวมิลเลนเนียลซึ่งพบเจอกับเหตุการณ์ 9/11 ในวัยเด็ก และก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2008 การได้หวนกลับไปหายุค ’90s ซึ่งตอนเองเป็นวัยรุ่นจึงสร้างความรู้สึกอบอุ่นคุ้นเคยแม้โลกรอบตัวจะกำลังสั่นคลอนก็ตาม ผลการศึกษาระบุว่าชาวมิลเลนเนียลไม่ชอบความเสี่ยง สำหรับแฟชั่น พวกเขาชอบที่จะกลับไปหาเทรนด์ที่มั่นใจได้มากกว่าสร้างเทรนด์ของตัวเอง
Naomi Campbell บนรันเวย์ Marc Jacobs’ Perry Ellis Spring/Summer 1993 สไตล์กรันจ์ของ Saint Laurent Fall/Winter 2013 สมัย Gedi Slimane
เป็นเวลากว่าครึ่งทศวรรษที่สไตล์ ’90s ครองรันเวย์ ลุคของแซงต์ โลรองต์ Fall/Winter 2013 ซึ่งออกแบบโดยเอดี สลีมานก็ได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมคนหนุ่มสาวในยุค ’90s ในปี 2018 มาร์ก เจคอบส์ก็เอาลุคเพอร์รี่ เอลลิส ในสไตล์กรันจ์กลับมาทำใหม่ และปีต่อมา เวอร์ซาเช่ก็นำเสนอชุดกระโปรงบอนเดจออีกครั้ง แล้วตอนนี้ ลุคแบบยุค’90s ของแซนดี้ เหลียงก็ทำให้เธอเป็นแบรนด์ที่เหล่า cool kids ต้องการ
ทศวรรษที่สไตล์กรันจ์และมินิมัลลิสต์หวนกลับมาสะท้อนอยู่ในลุคสตรีทสไตล์ของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ และทรงอิทธิพลในโลกโซเชียลมีเดีย ดูอย่างอินสตาแกรมแอคเคาต์ 90sanxiety ที่โพสต์ภาพเจนนิเฟอร์ โลเปซสมัยอายุ 25 เดินทางไปเข้ายิมจนทำให้มีผู้ติดตามฟอลโลว์พุ่งถึง 1.3 ล้านคน เช่นเดียวกับแอคเคาต์ 2000sanxiety ที่เริ่มเติบโต มีผู้ติดตาม 250,000k
ขณะที่ชาวมิลเลนเนียลอาจจะไม่อยากทาอายแชโดว์สีฟรอสรต์ที่เปลือกตาหรือเอาลุคสมัยไฮสกูลกลับมาแต่งใหม่ แต่ชาว Gen Z กลับชอบสไตล์ของต้นยุค 2000s ทั้งกิ๊บติดผม แทร็กสูทผ้ากำมะหยี่ และแว่นกันแดดเลนส์ย้อมสีกำลังครองโลก TikTok นักร้องสาว ดัว ลิปา ซึ่งอาจจะเกิดเร็วไปปีหนึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่ม Gen Z แล้วก็ถือเป็นไอคอนของ Gen Z ด้วย ต้องบอกว่าทรงผมกัดสีสไตล์คริสตินา อากิเรล่านั้น สาวดัวเอาอยู่จริงๆ
ไม่เพียงเท่านั้น ลุคแบบวัยรุ่น 2000s ก็กลับมาเช่นกัน อย่างหนุ่มๆ E-boys (ถ้าสาวๆ ก็เรียก e-girls) ที่นิยมเพนต์สีเล็บ ใส่เสื้อคอกลมผ้าถัก (waffle-knit tee) และเสื้อคร็อปท็อป (หรือที่คนยุคเก่าอย่างเราจะเรียกว่า เสื้อเอวลอย) ด้วยความมั่นใจเปี่ยมล้น จนกระทั่งแบรนด์เซลีนตั้งชื่อคอลเลกชั่นว่า The Dancing Kid เพื่อเป็นเกียรติแก่คนเหล่านี้ แล้วถ้ายังไม่สาแก่ใจ ลองดูแฟชั่นในเรื่อง Pen 15 ที่สตรีมผ่านเว็บ hulu.com เป็นตัวอย่างก็ได้
Christina Aguilera in 2002 Dua Lipa in 2019
อย่างไรก็ดี การที่ Gen Z ชอบสไตล์ต้นยุค 2000s นั้นไม่ใช่การมองย้อนกลับไปยังอดีตเพื่อหาแรงบันดาลใจ ใครก็ตามที่โตมาก่อนยุคไอโฟนหรือยุคโซเชียลเพียงเล็กน้อยน่าจะทราบดีว่าต้นยุค 2000s เป็นยุคแห่งความสับสนวุ่นวายไม่น่าจดจำมากเท่าไหร่ ดูภาพแทร็กสูทกำมะหยี่เป็นตัวอย่างก็ได้ ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ขณะที่ยุค ’90s อาจจะดูเป็นภาพฝันจากภาพถ่ายฟิล์มหรือโพลารอยด์สำหรับคนหนุ่มสาว สไตล์ยุค 2000s ก็คือความจริงอันแสนห่างไกลแต่จดจำได้นั่นเอง
ทุกเจเนอเรชั่นต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับการดิ้นรนด้วยกันทั้งนั้น แต่การที่มีโซเชียลมีเดีย สมาร์ทโฟน และวิดีโอเกมเข้ามา รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้ประสบการณ์วัยเด็กเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงและรวดเร็วนับตั้งแต่ปลายยุค 1990s แล้ว ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ดีไซเนอร์อย่าง มารีน แซร์, บาเลนเซียกา และกุชชี่จึงแสดงออกถึงความโหยหาอดีตและอนาคตแห่งการหลีกหนี การที่ Gen Z เอาสไตล์ต้นยุค 2000s มาใช้ก็เป็นความพยายามแบบเดียวกัน การที่เราโหยหาต้นยุค 2000s ไม่ใช่การแสดงให้เห็นถึงความจริงทางสังคมและการเมืองและยุคนั้นสักเท่าไหร่ แต่เป็นเรื่องของยุคสมัยที่ง่ายเหมือนชื่อเรียลิตี้โชว์ The Simple Life มากกว่า
ในวันนี้ Gen Z นั้นขึ้นชื่อเรื่องการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนหรือ sustainability และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่สำหรับคนที่ไม่มีงบมากมาย การที่ต้องอุปโภคสิ่งที่เข้ากับหลักการด้านจริยธรรมแต่ก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นได้นำไปสู่ความเฟื่องฟูของตลาดวินเทจและการรีเซล อย่างแอพพลิเคชั่น Depop ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 26 ปี และมีจำนวน 1 ใน 3 ที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปีและเป็นชาวอังกฤษที่ใช้แอพนี้ และแฮชแท็ก #Y2K ก็กลายเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในแอพ ซึ่งสะท้อนถึงเทรนด์ต้นยุค 2000 ที่กำลังมาแรง
การเรียกยุคนั้นว่า Y2K ซึ่งเกิดจากความกังวลว่าระบบดิจิตัลจะล่มเมื่อเข้าสู่ปี 2000 ฟังแล้วเหมือนเป็นระบบที่เราจัดการกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไรอย่างนั้น แต่ก็น่าแปลกที่ชาว Gen Z บอกว่าตอนนั้นตนเองเด็กเกินไปที่จะจำว่ามันคืออะไร แต่กลับจำชุดแทร็กสูทแบรนด์จูซี่กูตูร์ ยีนส์เอวต่ำได้
แฟชั่นที่โหยหาอดีตไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ แต่การที่ Gen Z เสพติดสไตล์ต้นยุค 2000 นั้นเป็นเรื่องของการที่สิ่งเก่ากลับมาดูมีเสน่ห์และแปลกใหม่อีกครั้งมากกว่า ความชื่นชอบที่มีต่อสายโซ่คาดเอว ผ้าขนหนู และผ้ากำมะหยี่นั้นเป็นความปรารถนาลึกๆ ต่อยุคสมัยซึ่งความกลัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (ระบบดิจิตัลล่ม) กลับไม่มีอะไรอย่างที่กังวล ความชอบต่อสไตล์ Y2K จึงแตกต่างจากการที่มิลเลนเนียลชอบยุค ’90s หรือการที่ทอม ฟอร์ดชอบยุค ’70s
การจะบอกว่ายุค 2020 คือความสับสนอลหม่านอาจจะฟังดู cliché ไปหน่อย แต่ถ้าพิจารณาความสับสันวุ่นวายต่างๆ นานาที่เกิดขึ้นในสังคม ณ ตอนนี้ ก็ไม่แปลกที่คนหนุ่มสาวจะฝ่ฝันถึงชีวิตวัยรุ่นหรือวัยเด็กที่ไม่ต้องการอะไรนอกจากไปเดินเล่นในห้าง